เมื่อลูกเริ่มนอนเป็นเวลา แม่ก็ควรเอาชีวิตตัวเองกลับมาเช่นกัน

หนึ่งในสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนคนหนึ่งได้มากที่สุดก็คือการมีลูก

ตอนเป็นโสดอาจจะมีเหงาบ้าง แต่ก็คล่องตัว สามารถทำอะไรได้อิสระเสรีพอสมควร

พอมีคู่ความเหงาก็คลี่คลาย อิสระอาจจะน้อยลง แต่ถ้าเป็นคู่ที่ไปไหนไปกันก็สนุกไปอีกแบบ

แต่พอมีลูก เราแทบจะต้องทิ้งทุกอย่างที่เคยทำเพื่อมาดูแลสิ่งมีชีวิตตัวน้อยๆ ที่ขาดเราไม่ได้

คนเป็นแม่นั้นลำบากกว่าคนเป็นพ่อหลายเท่า เพราะลำบากตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ต้องแพ้ท้อง ต้องระมัดระวังทุกย่างก้าว ต้องกังวลกับท้องลายและน้ำหนักที่ขึ้นเอาๆ ตอนช่วงท้ายก็อุ้ยอ้ายทำอะไรก็ลำบาก พอคลอดน้องออกมายังไม่ทันมีเวลาพักให้หายเจ็บแผลก็ต้องอดหลับอดนอนเอาลูกเข้าเต้า กล่อมลูกนอน พอลูกหลับปุ๊บยังต้องปั๊มนมเก็บไว้อีก

สามเดือนแรกน่าจะเป็นช่วงที่เหนื่อยที่สุด จากนั้นจึงค่อยๆ เหนื่อยน้อยลงแต่ก็ต้องเริ่มกลับมาทำงาน ส่วนลูกก็มีโจทย์มาให้เราแก้เรื่อยๆ เดี๋ยวป่วย เดี๋ยวดื้อ เดี๋ยวต้องเตรียมเข้าโรงเรียน

แต่สำหรับแม่ที่ทำงานประจำ หลายคนต้องสู้รบกับความรู้สึกผิดที่ไม่สามารถทุ่มเทเต็มร้อยกับงานได้ จะดูแลลูกก็รู้สึกว่าทำได้ไม่ดีพออีก สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นก็คือวันทั้งวันก็จะเทเวลาให้กับสองสิ่งนี้ ถ้าไม่ใช่เรื่องงานก็เรื่องลูก ถ้าไม่ใช่เรื่องลูกก็เรื่องงาน

เมื่อคุ้นเคยกับวิถีชีวิตแบบนี้ไปนานๆ เข้า แม่บางคนอาจลืมไปเลยว่าแต่ก่อนเราเคยมี passion หรือมีความสุขกับเรื่องอะไร หรือถึงไม่ลืมเราก็จะบอกตัวเองว่าเอาไว้ก่อน เอาเรื่องลูกก่อน เอาเรื่องงานก่อน

แต่ผมกลับรู้สึกว่า ถ้าลูกเริ่มนอนเป็นเวลาแล้ว (เช่นตอนอายุเกิน 1 ขวบ) เริ่มไม่ต้องมีเราอยู่ในทุกฝีก้าวในชีวิตเขาแล้ว คนเป็นแม่ควรกลับมาดูแลจิตใจและร่างกายตัวเองบ้าง

แผลผ่าตัดหายดีแล้ว ลูกเริ่มกินนมจากขวดได้แล้ว ตัวแม่กับลูกไม่จำเป็นต้องติดกันตลอดเวลาอีกแล้ว นี่คือจังหวะที่ดีที่เราจะจัดเวลาทำอะไรที่เติมเต็มเราได้บ้าง

เพราะถ้าไม่ทำอย่างนั้น ชีวิตเราจะมีแค่งานกับลูก ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ไปนานๆ เข้าก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า resentment หรือความเคืองขุ่นในจิตใจ ทั้งกับตัวงาน ตัวคู่สมรส หรือแม้กระทั่งตัวลูกเอง จากนั้นก็รู้สึกโกรธที่ตัวเองดันแอบไปรู้สึกแย่กับลูกอีกด้วย

เราจึงไม่ควรปล่อยให้สถานการณ์ไปถึงจุดนั้น เราไม่จำเป็นต้องสวมบทบาทมนุษย์แม่ตลอดเวลา หันกลับมาใส่ใจในสิ่งที่ spark joy ให้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรกหรือกิจกรรมหย่อนใจโดยไม่จำเป็นต้องมีลูกเป็นศูนย์กลางของทุกการกระทำ

เมื่อเราสามารถจัดเวลาให้ตัวเองได้บ้าง ได้เติมบางอย่างที่ขาดหายมานาน เราก็จะมีพละกำลังที่จะทำหน้าที่แม่ได้อย่างเต็มใจและยืนระยะได้ดีกว่าเดิมครับ

เมื่อลูกเริ่มนอนเป็นเวลาแม่ก็ควรเอาชีวิตตัวเองกลับมาเช่นกัน

หนึ่งในสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนคนหนึ่งได้มากที่สุดก็คือการมีลูก

ตอนเป็นโสดอาจจะมีเหงาบ้าง แต่ก็คล่องตัว สามารถทำอะไรได้อิสระเสรีพอสมควร

พอมีคู่ความเหงาก็คลี่คลาย อิสระอาจจะน้อยลง แต่ถ้าเป็นคู่ที่ไปไหนไปกันก็สนุกไปอีกแบบ

แต่พอมีลูก เราแทบจะต้องทิ้งทุกอย่างที่เคยทำเพื่อมาดูแลสิ่งมีชีวิตตัวน้อยๆ ที่ขาดเราไม่ได้

คนเป็นแม่นั้นลำบากกว่าคนเป็นพ่อหลายเท่า เพราะลำบากตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ต้องแพ้ท้อง ต้องระมัดระวังทุกย่างก้าว ต้องกังวลกับท้องลายและน้ำหนักที่ขึ้นเอาๆ ตอนช่วงท้ายก็อุ้ยอ้ายทำอะไรก็ลำบาก พอคลอดน้องออกมายังไม่ทันมีเวลาพักให้หายเจ็บแผลก็ต้องอดหลับอดนอนเอาลูกเข้าเต้า กล่อมลูกนอน พอลูกหลับปุ๊บยังต้องปั๊มนมเก็บไว้อีก

สามเดือนแรกน่าจะเป็นช่วงที่เหนื่อยที่สุด จากนั้นจึงค่อยๆ เหนื่อยน้อยลงแต่ก็ต้องเริ่มกลับมาทำงาน ส่วนลูกก็มีโจทย์มาให้เราแก้เรื่อยๆ เดี๋ยวป่วย เดี๋ยวดื้อ เดี๋ยวต้องเตรียมเข้าโรงเรียน

แต่สำหรับแม่ที่ทำงานประจำ หลายคนต้องสู้รบกับความรู้สึกผิดที่ไม่สามารถทุ่มเทเต็มร้อยกับงานได้ จะดูแลลูกก็รู้สึกว่าทำได้ไม่ดีพออีก สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นก็คือวันทั้งวันก็จะเทเวลาให้กับสองสิ่งนี้ ถ้าไม่ใช่เรื่องงานก็เรื่องลูก ถ้าไม่ใช่เรื่องลูกก็เรื่องงาน

เมื่อคุ้นเคยกับวิถีชีวิตแบบนี้ไปนานๆ เข้า แม่บางคนอาจลืมไปเลยว่าแต่ก่อนเราเคยมี passion หรือมีความสุขกับเรื่องอะไร หรือถึงไม่ลืมเราก็จะบอกตัวเองว่าเอาไว้ก่อน เอาเรื่องลูกก่อน เอาเรื่องงานก่อน

แต่ผมกลับรู้สึกว่า ถ้าลูกเริ่มนอนเป็นเวลาแล้ว (เช่นตอนอายุเกิน 1 ขวบ) เริ่มไม่ต้องมีเราอยู่ในทุกฝีก้าวในชีวิตเขาแล้ว คนเป็นแม่ควรกลับมาดูแลจิตใจและร่างกายตัวเองบ้าง

แผลผ่าตัดหายดีแล้ว ลูกเริ่มกินนมจากขวดได้แล้ว ตัวแม่กับลูกไม่จำเป็นต้องติดกันตลอดเวลาอีกแล้ว นี่คือจังหวะที่ดีที่เราจะจัดเวลาทำอะไรที่เติมเต็มเราได้บ้าง

เพราะถ้าไม่ทำอย่างนั้น ชีวิตเราจะมีแค่งานกับลูก ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ไปนานๆ เข้าก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า resentment หรือความเคืองขุ่นในจิตใจ ทั้งกับตัวงาน ตัวคู่สมรส หรือแม้กระทั่งตัวลูกเอง จากนั้นก็รู้สึกโกรธที่ตัวเองดันแอบไปรู้สึกแย่กับลูกอีกด้วย

เราจึงไม่ควรปล่อยให้สถานการณ์ไปถึงจุดนั้น เราไม่จำเป็นต้องสวมบทบาทมนุษย์แม่ตลอดเวลา หันกลับมาใส่ใจในสิ่งที่ spark joy ให้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรกหรือกิจกรรมหย่อนใจโดยไม่จำเป็นต้องมีลูกเป็นศูนย์กลางของทุกการกระทำ

เมื่อเราสามารถจัดเวลาให้ตัวเองได้บ้าง ได้เติมบางอย่างที่ขาดหายมานาน เราก็จะมีพละกำลังที่จะทำหน้าที่แม่ได้อย่างมั่นคงกว่าเดิมครับ

สำหรับพ่อแม่ที่อยากให้ลูกได้สิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้น

วันนี้ผมอ่านเจอเรื่องราวหนึ่งในหนังสือ Emotional First Aid ซ่อมแซมสุขที่สึกหรอ

เป็นเรื่องราวของคาร์ลตัน ที่เติบโตมาในครอบครัวฐานะปานกลาง แต่เมื่อถึงจุดนึงพ่อเกิดร่ำรวยจากตลาดหุ้น เลยตั้งปณิธานและพร่ำบอกกับลูกไว้ว่า “ลูกชายของพ่อต้องได้สิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้น!”

เมื่อคาร์ลตันเรียนจบและเปรยกับพ่อว่าอยากจะย้ายไปอยู่นิวยอร์ก พ่อก็ให้เขาย้ายไปอยู่อพาร์ตเมนต์เพนต์เฮาส์ที่เพิ่งซื้อมาหมาดๆ แถมยังให้เงินก้อนโตสำหรับใช้จ่ายแต่ละเดือนอีกด้วย

คาร์ลตันได้ลองทำอาชีพหลายอย่าง โดยได้งานดีๆ จากเส้นสายของพ่อ แต่เนื่องจากแท้จริงแล้วเขาไม่ได้มีคุณสมบัติที่จะทำงานเหล่านี้ได้ดี พอทำงานได้ไม่ถึงหนึ่งปีก็มักจะมีผู้ใหญ่เรียกเขาไปคุยอย่างสุภาพว่าเขาควรลองหาอย่างอื่นทำได้แล้ว

เนื่องจากบริษัทเหล่านี้รู้ว่าคาร์ลตันคงอยู่ไม่นาน จึงแทบไม่เคยมีใครให้ฟีดแบ็คว่าเขาต้องปรับปรุงตัวหรือพัฒนาเรื่องอะไรบ้าง พอถึงเวลาก็แค่มาบอกให้เขาลาออก ซึ่งมันทำให้เขาอับอายมาก

แท้จริงแล้วคาร์ลตันไม่เคยขอให้พ่อซื้ออพาร์ตเมนต์ให้ ไม่เคยขอเงินพ่อไว้ใช้จ่าย ไม่เคยขอให้พ่อหางานให้ แต่พอเขาเปรยๆ ว่าสนใจอะไรสักอย่าง ไม่กี่วันถัดมาเขาก็จะได้รับโทรศัพท์มาแจ้งว่ามีตำแหน่งว่างในงานที่เขาสนใจพอดี

ในปี 2008 คาร์ลตันในวัย 26 ปีก็แต่งงานกับแฟนสาว แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือน ก็เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย และพ่อของคาร์ลตันได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจนต้องขายอพาร์ตเมนต์ทิ้งและหยุดให้เงินค่าใช้จ่ายประจำเดือนแก่คาร์ลตัน

ตอนนั้นคาร์ลตันอยู่ในช่วงตกงาน เลยต้องอาศัยเพียงเงินเดือนของภรรยาและเงินก้อนเล็กๆ ที่เขามีในธนาคาร

คาร์ลตันหางานสุดชีวิต สมัครงานเป็นร้อยตำแหน่งแต่ก็ไม่ผ่านสักงานเดียว คงเป็นเพราะว่าเรซูเม่ของเขาแสดงให้เห็นว่าเขาอยู่ที่ใดได้ไม่เกินหนึ่งปีเลย

“พ่อผมชอบทำตัวเป็นวีรบุรุษเอามากๆ พ่อไม่สนว่ามันจะทำให้ผมพึ่งพาตัวเองทางการเงินไม่ได้เลยหรือเปล่า พ่อไม่สนว่ามันจะทำให้ชีวิตการงานของผมพังมั้ย ผมอายุ 27 แล้ว และผมก็ไม่มีทักษะอะไรเลย ไม่มีคุณสมบัติอะไรทั้งนั้น แล้วก็ไม่มีอนาคต! พ่อทำลายชีวิตผม! ทุกครั้งที่ผมถูกปฏิเสธงาน ผมได้ยินเสียงพ่อในหัวผม ‘ลูกชายพ่อต้องได้สิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้น!'”


ผมว่าคาร์ลตันรำไม่ดีโทษปี่โทษกลองไปหน่อย แต่ก็พอเข้าใจได้ว่าทำไมเขาถึงรู้สึกอย่างนี้

คนเป็นพ่อแม่ โดยเฉพาะที่เคยลำบากมา ก็ย่อมอยากจะให้ลูกสบายและได้รับโอกาสในสิ่งที่พ่อแม่ไม่เคยได้

แต่เราก็ต้องระวังที่จะไม่ให้ความรักมันบังตาจนเราทำร้ายลูกทางอ้อมโดยไม่รู้ตัว

ผู้ใหญ่ท่านนึงเคยบอกกับผมว่า เวลาเราเห็นข่าวลูกไฮโซก่อเรื่อง ขับรถชนแล้วหนี หรือทำผิดแล้วลอยนวล คนเหล่านั้นมักเคยได้รับการปรนเปรอเกินพอดีมาตั้งแต่เด็ก

หากรู้ตัวว่าเราเป็นพ่อแม่ที่อยากให้ลูกได้สิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้น ก็ขอให้ระวังกับดักนี้กันให้ดีนะครับ


ขอบคุณเรื่องราวจากหนังสือ Emotional First Aid ซ่อมแซมสุขที่สึกหรอ Guy Winch เขียน ลลิตา ผลผลา แปล สำนักพิมพ์: Be(ing)

คนไม่มีลูก แก่ตัวไปแล้วจะเหงารึเปล่า?

ฉันไม่เคยมีลูกและตอนนี้ก็อายุ 70 กว่าปีแล้ว

เมื่อหลายสิบปีที่แล้วตอนที่ฉันต้องตัดสินใจว่าจะมีลูกดีหรือไม่ ฉันไปคุยกับเพื่อนหลายคนที่มีลูก ฉันถามพวกเธอว่าชีวิตเป็นอย่างไรบ้าง และหลังจากได้คุยแล้วฉันก็เข้าใจว่าการจะมีชีวิตที่ดีและน่าสนใจไปพร้อมๆ กับการมีลูกนั้นเป็นสิ่งเป็นไปได้

แต่จะด้วยโชคชะตาหรืออะไรก็ตาม บางอย่างในชีวิตสมรสของเราทำให้ฉันไม่สามารถมีบุตรได้

และเท่าที่ผ่านมาฉันก็มีอายุที่ยืนยาว น่าสนใจ และไร้บุตร

ฉันยังจำคำพูดหนึ่งของเพื่อนสาวฉันได้ดี

“มิเชล จริงๆ แล้วเธอแค่ต้องการจะมีเรื่องให้เสียดายน้อยที่สุด (avoid regret) และถ้าเธอไม่มีลูก เธอจะมีเรื่องให้ต้องเสียดายอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ฉันก็มีลูกสาวที่น่ารัก 2 คน และฉันการันตีได้เลยว่าตอนที่พวกเราแก่ตัว บัญชีเรื่องที่ฉันเสียดายนั้นจะยาวเป็นหางว่าวกว่าเธอ เพราะสิ่งที่เธอจะได้ทำเพราะเธอไม่มีลูกนั้นย่อมเยอะกว่าสิ่งที่ฉันจะได้ทำเพราะว่าฉันมี”

ตอนนี้พวกเราแก่กว่าเดิมมาก แต่เราก็ยังคุยกันเป็นประจำ ชีวิตของเพื่อนคนนี้ต่างจากชีวิตของฉัน เธอมีสมาชิกครอบครัวเยอะกว่า ส่วนฉันก็มีเพื่อนฝูง ฉันได้เดินทาง และฉันก็ได้เขียนหนังสือ ฉันไม่เคยรู้สึกเหงาเลยเพราะว่าฉันยุ่งเกินกว่าจะเหงา

ฉันเคยแอบคิดว่าตัวเองน่าจะมีลูกบ้างรึเปล่าน่ะเหรอ? มันก็เหมือนกับการแอบคิดว่าฉันน่าจะตัวสูงกว่านี้นั่นแหละ บางทีฉันก็คิด แต่มันก็ไม่ได้ทำให้ฉันตัวสูงขึ้น มันเป็นแค่เรื่องเพ้อฝันฉันเลยไม่อยากใส่ใจมันเท่าไหร่ ฉันอยากใส่ใจแต่เรื่องดีๆ ในชีวิต ซึ่งฉันก็มีมากเกินพอ

ที่แน่ๆ คือฉันไม่รู้สึกเหงาเลยแม้แต่น้อย


ขอบคุณเนื้อหาจาก Quora: Michelle Gaugy’s answer to Will child-free people get lonely in old age without kids?