Unforgettable conversation

ตอนทานข้าวเย็นวันนี้ ได้อ่านนิตยสารเก่าฉบับหนึ่ง เป็นของเดือนกรกฎาคม 2553 ที่เจ้าของร้านเอามาให้อ่านช่วงรออาหาร หน้าปกเป็นรูปในหลวงครับ และในนั้นก็มีบทความสั้นๆ ที่เขียนถึงในหลวงจากหลายคนเลยทีเดียว ทั้งท่านมุ้ย อ.เฉลิมชัย เสธ.ไก่อู หรือแม้กระทั่งโดม ปกรณ์ ลัม  ทำให้ผมนึกถึงเรื่องราวเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณเกือบสองปีที่แล้ว

เมื่อเดือนตุลาคมปี 2553 ขณะที่ผมเดินทางไปหัวหินเพื่อเตรียมจัดงานเลี้ยงให้กับทางบริษัท ผมมีโอกาสได้คุยกับช่างภาพคนหนึ่งที่มารับจ๊อบถ่ายรูปในงานเลี้ยงนี้

เค้าชื่อดาริโอ้ครับ

ดาริโอ้เป็นชาวอิตาเลียน เป็นตากล้องอิสระ อายุน่าจะสามสิบปลายๆ ช่างพูดช่างคุย และอยู่เมืองไทยมาซักสองสามปีแล้ว

เราคุยกันอย่างออกรสชาติทั้งเรื่องฟุตบอลโลกที่เพิ่งจบไปหมาดๆ และคุยย้อนไปถึงเหตุการณ์ที่ราชประสงค์  ดาริโอ้เล่าว่าเขาก็ได้ไปถ่ายภาพเหตุการณ์ในช่วงเดือนเมษายนนั้นด้วย

“นี่ไงแผลที่โดนยิง”  ดาริโอ้ถลกขากางเกงให้ดู รอยแผลเหมือนคนที่ผ่าตัดขาทั่วๆ ไป ที่จะมีรอยกรีดยาวตรงหน้าแข้ง ต่างกันตรงที่ ระหว่างเส้นกรีดยาวราวสิบเซ็นนั้น ตรงกลางมีแผลเป็นทรงกลมๆ ขนาดประมาณลูกปิงปอง

“คุณรู้มั้ยว่าใครยิงคุณ” ผมถาม

“ทหารน่ะ”  ดาริโอ้ตอบ “แต่ผมไม่โกรธหรอกนะ”

แล้วดาริโอ้ก็ถามความเห็นผมหลายๆ อย่างเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในบ้านเรา ซึ่งผมก็ตอบไปแบบงูๆ ปลาๆ แต่ดาริโอ้ก็ดูจะชอบใจทีเดียว เพราะธรรมดาเวลาเขาถามปัญหาเรื่องการเมืองกับคนไทยทีไร คนที่โดนถามมักจะบ่ายเบี่ยง แล้วบอกว่า “มันซับซ้อนเกินไป”

 “ผมหงุดหงิดนะ ที่คนไทยมักจะบอกว่าผมไม่มีวันเข้าใจการเมืองไทยหรอก ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วอิตาลีกับเมืองไทยมีหลายๆ อย่างที่คล้ายๆ กัน”

“เมืองไทยมีคอรัปชั่น อิตาลีก็มีคอรัปชั่น เมืองไทยมีมาเฟีย อิตาลีก็มีมาเฟีย เมืองไทยมีนักธุรกิจที่มาเล่นการเมืองอย่างทักษิณ อิตาลีก็มีคนอย่างเบอลุสโคนี่”  ดาริโอ้พูดอย่างน่าคิด

“แต่พวกคุณยังดีนะ”  ดาริโอ้พูด หยุดนิดนึง แล้วสบตาผม

“คุณยังมีในหลวงให้รัก”

ผมอึ้งไปนิดนึง และยอมรับว่าประทับใจพอสมควรเลยที่คนอิตาลีที่อยู่เมืองไทยมาไม่กี่ปีจะรู้สึกถึงสิ่งนี้ได้

ผมหยอกดาริโอ้กลับไปแบบทีเล่นทีจริงว่า “พวกคุณก็มีสันตะปาปาให้รักเหมือนกันนี่”

แต่ดาริโอ้ตอบอย่างจริงจังว่า “คุณเอาโป๊ปของพวกผมไปเทียบกับในหลวงไม่ได้หรอก” ผมขออนุญาติไม่เล่าว่าเขาอธิบายความต่อยังไง เอาเป็นว่าช่างภาพชาวอิตาเลียนคนนี้นับถือประมุขของประเทศไทยมากกว่าประมุขศาสนจักรของบ้านเกิดเขา

ผมได้แค่เพียงยิ้มตอบ และหันไปทางอื่นเพื่อไม่ให้เขาเห็นว่าเราน้ำตาคลอ

 

While I was waiting for my dish at a restaurant this evening, I got a chance to read an old magazine which came out since July 2010.  The cover was a picture of King Bhumibhol. Inside were numerous articles written by prominent figures in Thailand.  Reading their writings reminded me of a conversation I had almost two years ago.

It was October 2010 when I went to Hua Hin to prepare for my company’s party. I got to meet a photographer who was hired to take photographs at this party.

His name was Dario.

Dario was an Italian. He was a talkative, freelance photographer in his late thirties who had been living in Thailand for a few years.

We talked about various topics including the World Cup and the incident at Ratchaprasong.  Dario mentioned that he was on the scene in April to take some photos.

“I was shot in the leg” he pulled up a sleeve of his trousers to show his wound. It was a typical wound you would see in someone who has undergone an operation in his leg, except that in addition to the long gash, there’s also a rounded-shape scar about the size of a table tennis ball that showed exactly where the bullet had hit.

“Do you know who shot you?”  I asked.

“A soldier”. He replied.  “But I’m not mad at him though”.

Dario then asked me more questions on the political turmoil in Thailand. I answered him with limited knowledge but he was nevertheless quite happy to be getting some information. Normally when he tried to ask a Thai about Thai politics, he would be given with just short reply – “It’s too complicated for you to understand”

“It’s really frustrating to hear people treat me as if I will never understand Thai politics.  Actually Italy and Thailand have a lot in common”.

“Thailand has corruption, so does Italy. Thailand has mafias, and of course we have them in Italy! Thailand has businessmen who got involved in politics like Thaksin, we have Berlusconi” Dario remarked.

“But you are lucky” Dario stopped and looked at me in the eyes

“You have your king to love”.

I was lost for words for a few moments. I’d have to say I was very impressed that an Italian who had been living in Thailand for only a few years understood this feeling we had for the King.

I said to him half-jokingly “You have your pope to love too!”

To which Dario replied, with a serious look “You can’t compare our pope to your king”.  I will omit his elaboration here, but in brief, this Italian photographer had more respect for the king from Thailand than the Pope from his homeland.

I could only smile and turn around, so that he wouldn’t see my eyes swelling with tears.