Inflation – เงินเฟ้อ

ช่วงนี้ค่าครองชีพเราขึ้นเอาๆ อย่างเห็นได้ชัดนะครับ

ธรรมดาผมไม่ใช่คนที่จะซื้อของหรือจ่ายตลาดอยู่แล้ว เลยไม่ค่อยรู้สึกรู้สานักเวลาแม่บ่นว่าข้าวของแพง

แต่สองวันมานี้เริ่มรู้สึกแล้วครับ

เมื่อวานนี้ผมไปทานข้าวเช้าที่ร้านประจำ ร้านนี้ข้าวแกงอร่อย หรือจะทำตามสั่งก็อร่อยอีกเช่นกัน

ข้าวกับกับข้าวสองอย่างราคา 35 บาท เช่นข้าวราดกะเพราไก่บวกไข่ดาว ก็จะราคา 35 บาท

แต่ถ้าสั่งให้ทำใหม่เลย ข้าวกะเพราไก่ไข่ดาวจะราคา 40 บาท เหมือนคิดเงินเพิ่มค่าทำอาหารใหม่มาอีก 5 บาท ซึ่งผมก็รับได้ เพราะได้กินอาหารสดๆ ร้อนๆ

น้ำอีกแก้วละ 2 บาท

รวมข้าวเช้ามื้อหนึ่ง 42 บาท

เมื่อวานนี้ผมไปกินกะเพราไก่ไข่ดาวเช่นเคย จ่ายเงินไป 45 บาทแล้วยืนรอตังค์ทอน น้องคนขายก็หันไปทำอย่างอื่นอยู่แป๊บนึง พอหันกลับมาแล้วเห็นเรายังยืนอยู่เลยบอกว่า

พี่คะ ตอนนี้ขึ้นเป็น 45 บาทแล้วค่ะ แต่เปลี่ยนเป็นไม่คิดค่าน้ำแทน

ครับ เดี๋ยวนี้ข้าวกะเพราไก่ไข่ดาวตามร้านข้างทางธรรมดาราคา 45 บาทแล้ว

เพิ่มจากที่ผมเคยกินมาแค่ 3 บาทก็จริง แต่ก็มีผลกระทบทางจิตใจอยู่เหมือนกัน

มีผลขนาดที่ว่าวันนี้ แทนที่จะไปกินร้านประจำ ผมเดินเลี่ยงไปหาร้านใหม่กินแทน

ร้านก๋วยเตี๋ยวครับ เป็นร้านที่ไม่เคยเห็นและไม่เคยทานมาก่อนด้วย

สั่งเส้นเล็กน้ำธรรมดาหนึ่งชาม

พออาหารมา จึงเห็นว่าเส้นน้อยมาก แต่พวกลูกชิ้นและเนื้อหมูก็เยอะพอใช้

แต่ก็กินไม่อิ่มหรอก

ทานเสร็จจ่ายเงิน โดนไป 37 บาท

ค่าน้ำธรรมดา 2 บาท

ค่ำก๋วยเตี๋ยวธรรมดาชามละ 35 บาท

ยังไม่รู้สึกอิ่มเลยซักนิด!

แล้วก็ระลึกถึงวัยเยาว์ซึ่งเหมือนจะยังผ่านไปไม่นานนี้เอง ช่วงม.ต้น ก๋วยเตี๋ยวชามละ 10 บาท พิเศษ 12 บาท

ในเวลา 20 ปี ก๋วยเตี๋ยวแพงขึ้นถึง 3.5 เท่า

ขณะที่ผมเดินออกจากร้านก๋วยเตี๋ยวด้วยท้องที่โหรงเหรงและหัวที่ครุ่นคิดเรื่องเงินเฟ้อ

ผมก็ถามตัวเองว่า “แล้วเราเฟ้อรึเปล่า?”

ความหมายของเงินเฟ้อ คือ ของชิ้นเดิม หน้าตาเหมือนเดิม คุณภาพเท่าเดิม แต่แพงขึ้นทุกวัน

แล้วคนเรา ในฐานะ “ทรัพยากรมนุษย์” ล่ะ?

บริษัทให้เงินเราเพิ่มทุกปี แต่เรายังทำงานเหมือนเดิม คุณภาพยังเท่าเดิม คุณค่ายังเท่าเดิมรึเปล่า?

ถ้าใช่ แสดงว่าเราก็ “เฟ้อ” เหมือนก้น

หรือคิดในอีกมุมหนึ่ง ถ้าเราเป็นเจ้าของบริษัท เราจะยอมจ่ายเงินเดือนที่เราได้ในปัจจุบัน ให้คนอื่นที่ทำงานได้เหมือนเรารึเปล่า

ข้าวปลาอาหารจะราคาแพง อันนี้เราไม่มีสิทธิ์กำหนด

แต่เรามีสิทธิ์กำหนดได้ว่า เราจะทำตัวให้เหมาะสมกับราคาที่บริษัทจ่ายให้เราหรือไม่

บริษัทจะได้ไม่รู้สึกกับเราว่า “กินไม่อิ่มท้อง”

เหมือนที่ผมรู้สึกกับก๋วยเตี๋ยวชามที่ผมกินเมื่อเช้านี้

image

Cost of living has never been so high!

I’m not the kind of person who does grocery, so I never really felt anything when mum complained that things were getting more expensive.

But I’ve started feeling it in the past two days.

Yesterday I had my breakfast at a restaurant that I frequently visit. The food there is pretty good. A dish of rice with two ready-made toppings would cost 35 baht, for example, rice with basil fried chicken and fried egg.

But if I order it to be freshly cooked, it would cost me 40 baht. The additional 5 baht is for the cooking effort.

A glass of water is 2 baht.

So my breakfast would cost me 42 baht.

Yesterday I had the basic fried chicken and fried egg as usual. I gave 45 baht to the cashier, and stood there waiting for the change. She was busy with something for a moment, then noticed that I was still there so she turned around and said

This dish now costs 45 baht, but you don’t have to pay for the water.

Sure, it’s only 3 baht more expensive, but it had a psychological impact on me nonetheless.

The impact was such that I switched my place for breakfast!

So this morning, I went to a noodle restaurant which I had never eaten at before.

I ordered a regular bowl of noodle

When it arrived, the first thing I noticed was that the small portion of noodle, but there were quite a few meatballs – five of them if I’m not mistaken.

But that wasn’t really enough to fill my tummy.

When it was time to pay, I found out that the total figure was 37 baht, which can be broken down to 2 baht for the water, and 35 baht for the noodle.

And yet, I didn’t feel full at all.

I can’t help thinking back to my secondary school days when a regular bowl of noodle cost 10 baht, and the large bowl would cost 12 baht.

Within 20 years, the noodle has cost 350% more.

As I walked out of the noodle shop feeling my half-empty stomach and pondering about inflation in the currency, I asked myself “Am I inflated too?”

The meaning of economic inflation is that the same product with the same quality costs more as the years go by.

What about us, “human resources” ?

The company gives us a raise every year (no matter how little), but do we still work the same way, producing the same kind of work at the same level of quality?

If the answer is yes, then we are inflated too.

To put it another way, if you own a company, would you pay your current salary to someone who could deliver as much (or as little) as you?

We can do very little about the inflation in the food price

But we certainly have some control on whether we are making ourselves worth the money the company is paying us or not.

So that our boss doesn’t feel that his stomach is half-empty like the way I felt with that bowl of noodle this morning.

~~~~~~~~~

Photo credit:

https://www.flickr.com/photos/charleylhasa/6444313585

This article was originally posted at: anontawong.com

ถอดร่าง / Soul Out

[For English, please press space bar a few times]

สมัย ม.ปลาย ช่วงปี 2538-2540 ผมมีโอกาสไปเรียนหนังสือที่ประเทศนิวซีแลนด์ครับ

ผมไปอยู่เมืองที่ชื่อว่า เทมูก้า เป็นเมืองเล็กๆ อยู่ที่เกาะใต้ ขับรถจากไครส์เชิร์ชลงมาประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง

ช่วงหน้าหนาว อากาศที่นี่จะเย็นเอาการ อุณหภูมิตอนกลางวันน่าจะอยู่ที่ประมาณ 10 องศา

เครื่องแบบนักเรียนของที่นั่นจะเป็นเสื้อเชิ้ตสีเทาแขนยาวทำมาจากผ้า cotton 100% สวมทับด้วยเสื้อเจอร์ซี่สีน้ำเงินที่ทำจากขนแกะ แล้วก็ใส่กางเกงขายาวสีเทาขาจีบแบบคุณลุง

แต่สำหรับเด็กอายุ 15 ปีจากประเทศแถบเส้นศูนย์สูตรอย่างผม ถึงจะใส่ชุดอย่างนั้นก็ยังหนาวอยู่ดี!

จำได้ว่ามีหลายต่อหลายครั้งที่เดินไป สั่นไป สั่นทั้งแขน ทั้งขา ทั้งลำตัว แม้แต่ปากก็สั่นจนฟันกระทบกันเหมือนในการ์ตูน

ใครที่เคยไปอยู่เมืองหนาวและมีเสื้อผ้าไม่พอใส่น่าจะเข้าใจอารมณ์นี้เป็นอย่างดี

แต่แล้วมาวันหนึ่งผมก็ค้นพบเทคนิคที่สำคัญครับ

จำได้ว่าวันนั้นผมเดินอยู่นอกอาคารเรียน อากาศเย็นได้ที่ แสงแดดไม่มี มีแต่ลมพัดเบาๆ

อาการสั่นจนหยุดไม่ได้มันกลับมาอีกแล้ว!

แล้วจู่ๆ ผมก็นึกสนุกขึ้นมาว่า ไหนลองคิดว่าตัวเอง “ถอดร่าง” ซิ

คิดเหมือนว่า วิญญาณเราหลุดออกมา แล้วยืนดูร่างกายของตัวเองที่สั่นว่าเป็นยังไง

ลองจับไปที่ความเย็นที่มากระทบแขนซิว่ามันหนาวแค่ไหน

ร่างกายดันหยุดสั่นแฮะ

เมื่อกี๊ยังสั่นจนควบคุมไม่ได้อยู่เลย

นับจากนั้นมาผมก็เลยใช้เทคนิคนี้เสมอๆ 

ถ้ารู้สึกเริ่มหนาวจนทนไม่ได้ขึ้นมา

ก็ลองจับความรู้สึกบนร่างกายเอา แล้วความทรมานจากการหนาวก็จะลดลงไปอย่างไม่น่าเชื่อ

ต้องใช้เวลาอีกเป็นสิบปีถึงจะรู้ว่า สิ่งที่ผมทำในบ่ายวันที่หิมะตกนั้นคือวิปัสสนาดีๆ นี่เอง

ถ้าพูดภาษาเทคนิคหน่อย มันคือ เวทนานุปัสสนา หรือการตามดูความรู้สึกของร่างกายและจิตใจ

จากการเป็นคนที่กำลังหนาวอยู่ กลายเป็นคนที่ดูร่างกายที่มันหนาวอยู่

ฟังดูเหมือนจะไม่ต่าง แต่ก็ต่างกันมากนะครับ

ผู้อ่านบางคนอาจบอกว่า อยู่กรุงเทพ ไม่มีโอกาสหนาวอย่างนั้นอยู่แล้วยกเว้นตอนไปเที่ยวเหนือหรือไปญี่ปุ่น

แต่ผมจะบอกว่า อากาศร้อนก็ทำได้เหมือนกันนะครับ

ความทุกข์ทางกายเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้าเราปล่อยให้ความทุกข์ทางใจมันอาละวดด้วยมันจะยิ่งทำให้ความทุกข์ทางกายดูรุนแรงกว่าความจริง

เหมือนที่ฮารูกิ มูราคามิ นักเขียนชื่อดังเคยกล่าวไว้ว่า Pain is inevitable, suffering is optional ครับ

 

 image

 

During my adolescent years, I was lucky enough to attend high school in New Zealand.

The town I went to is called Temuka, it’s a little town with just over four thousand people, about 1.5 hours drive from Christchurch.

During the winter, the place could get icy cold, the temperature during the noon is around 10 degrees Celsius and it could drop below zero at night.

School uniforms back then comprised long trousers, a grey long sleeve shirt made from cotton, and a blue woolen jersey.

But it wasn’t quite enough for me, a 15 year-old boy from a country that sits just above the equator.

 

When it got really cold, my whole body would tremble like crazy and I would experience teeth chattering like what you see in cartoons.

I’m sure many of you have had a similar experience to mine.

But one day I found a surprising simple technique to alleviate this problem.

I was at school, walking in open-air. There was no sunshine, and I felt this cool breeze hit my body.

This uncontrollable shaking hit me again!

But then I figured out that it might be fun to try the ‘out of body experience’.

I just imagined that my soul came out of my body, and had my soul watch my body tremble.

I paid attention to the coolness that was touching my arms.

And my body stopped shaking.

I mean, it was trembling involuntarily just a moment ago, and now it just stopped, without my effort.

Since then on I always used this technique.

When it got so cold that I could not stand it anymore, I would just pay attention to the sensations in my body, and the agony from the cold weather would miraculously diminish.

Only after more than 10 years later did I realize that I was doing was a form of vipassana.

Technically speaking, it was a Vedananupassana, or the contemplation on feelings/sensations.

From being a boy who was cold, I turned myself to be a boy watching his body getting cold.

These two states may seem similar but in fact they are really different.

You might say that since you are in Bangkok, how could you use this technique since it never gets that cold unless you go to Chiang Mai or Japan.

But I’d say that you could use the same technique in a hot weather.

We cannot avoid physical inconveniences, but if we let the mind suffer from it too, the bodily pain would feel worse than it actually is.

Just like Haruki Marakami once mentioned in his book – pain is inevitable, suffering is optional.

~~~~~~~~~

Photo credit:

http://www.ForestWander.com [CC-BY-SA-3.0-us], via Wikimedia Commons

This article was originally posted at: anontawong.com