ยิ่งใกล้ยิ่งดี – The Closer It Gets, The Better

ยิ่งใกล้ยิ่งดี

สมมติฐาน: ความเลวของคนแปลกผกผันกับระยะทางระหว่างเขากับเรา

เวลาเราเห็นนักการเมืองที่ซุกหุ้นหรือหลบเลี่ยงภาษี เราจะด่าเขาว่าโกงชาติโกงแผ่นดิน

แต่ถ้าพ่อแม่เราเองทำธุรกิจแล้วหลบเลี่ยงภาษีเมื่อมีช่องทางที่จะทำได้ ความรู้สึกของเราจะเป็นอีกแบบ

เวลาเราเห็นคนเมาแล้วขับรถจนไปชนคนตาย เราจะด่าเขาว่าเลวมาก ทำอะไรไม่คิดถึงคนอื่น

แต่ถ้าเพื่อนเราเองกินเหล้าเมาแล้วขับไปชนคนตาย เราก็จะรู้สึกอีกแบบ

เวลาเราเห็นข่าวหนังสือพิมพ์ว่าชายฉกรรจ์ติดยาบ้าจนไปปล้นจี้คนอื่น เราจะรู้สึกว่ามันไม่ใช่คน

แต่ถ้าน้องชายของเราเองติดยา เราก็จะรู้สึกอีกแบบ

คนเรามีสองมาตรฐานเสมอ มาตรฐานหนึ่งสำหรับ “คนอื่น” และอีกมาตรฐานหนึ่งสำหรับ “คนรู้จัก”

จริงๆ อาจต้องพูดว่าคนเรามีสามมาตรฐานด้วยซ้ำ

สำหรับคนอื่น สำหรับคนรู้จัก

และสำหรับตัวเราเอง

image

The Closer It Gets, The Better

My proposed hypothesis: A man’s vice is inversely proportional to the emotional distance between you and him

When we read about how politicians evade tax, we call them traitors or shameless people.

But if the people evading tax are our own parents, the feeling is different.

When someone drives while intoxicated (DWI) and kills an innocent girl, we call him reckless and immoral person

But if it’s our friend who drives and hits someone, we feel different.

When we read in the newspaper that a drug addict is robbing a convenient store, we feel that he is less human than we are.

But if we find out that our own brother has been using drug, then the feeling is different.

It’s double standard. We have one standard for ‘others’ and another for people we know.

Actually it’s triple standard.

One for others, one for people we know.

And one for ourselves.

——-

Photo Credit: https://www.flickr.com/photos/motiqua

This article originally appeared on anontawong.com