ปฏิเสธคนให้เป็น – Say “No” with an option – เราไม่ปฏิเสธใครเพราะเราเป็นคน nice หรือเพราะเราเป็นคนไม่กล้า? ถ้าปัญหาคืออย่างหลังก็อาจถึงเวลาต้องมีความกล้ามากกว่านี้ เพราะถ้าเรา say yes กับทุกอย่างเราจะทำไม่ได้ดีสักอย่าง หัดปฏิเสธคนอย่างมีศิลปะด้วยการมอบทางเลือกให้กับเขา เช่นแนะนำคนอื่นที่ช่วยเขาได้ หรือถ้าต้องเป็นเราจริงๆ ก็ขอให้เขารอให้เราทำงานสำคัญของเราให้เสร็จก่อน
ทำงานเล็กๆ ให้เสร็จภายใน 1 ชั่วโมง – Parkinson’s Law บอกว่า work expands so as to fill the time available for its completion เมื่อเราเผื่อเวลาให้กับงานมากเท่าไหร่ งานมันก็จะขยายตัวจนใช้เวลาเหล่านั้นจนหมด ภาพความทรงจำสมัยเรียนยังเด่นชัด อาจารย์ให้เวลาทำ assignment หลายอาทิตย์แต่เราก็มักจะมาปั่นในคืนสุดท้ายอยู่ดี ดังนั้น ถ้ามีงานชิ้นเล็กๆ ที่ไม่สำคัญเท่าไหร่นัก ลองรวบรวมมาสัก 4-5 งานแล้วลองเล่นเกมกับตัวเองดูว่าภายใน 1 ชั่วโมงจะทำงานเหล่านี้เสร็จสักกี่ชิ้น
Nassim Taleb ผู้เขียน The Black Swan เคยกล่าวไว้ว่าคนเราควรจะมีเงินมากพอที่จะไม่ต้องยอมตกเป็นเบี้ยล่างของใคร แต่ไม่ควรมีมากเกินจนมันพาเราไปเข้าสังคมที่เต็มไปด้วยคนที่เราไม่ได้อยากคุยด้วย
David Allen ซึ่งเป็นกูรูด้าน productivity เคยบอกไว้ว่า ถ้าเราจัดการเวลาได้ดี เราจะไม่ค่อยคิดถึงเรื่องเวลา ถ้าเราจัดการการเงินได้ดี เราก็จะไม่ค่อยกังวลเรื่องการเงิน
หลายสิ่งในชีวิตมันจะมีจุด optimized ของมัน พอเลยจากจุดนี้ ผลตอบแทนมันจะไม่ค่อยคุ้มค่ากับแรงที่ต้องลงเพิ่มต่อไปอีกแล้ว ฝรั่งเรียกมันว่า law of diminishing returns
ถ้าเราหาเจอว่าสิ่งนั้นคืออะไร เราจำเป็นต้องรักษาไว้ และถ้าเราฉลาดพอว่านั่นคือสิ่งที่มนุษย์จำเป็นต้องรักษาไว้ แล้วเราสร้างธุรกิจหรือดำเนินชีวิตไปกับสิ่งที่เป็นคุณค่าของมนุษย์เหล่านั้นได้ เราก็จะอยู่ได้ในโลกสมัยใหม่ และนั่นเป็นสิ่งที่หุ่นยนต์กลไก AI จะ disrupt เราไม่ได้
ถึงที่สุดแล้ว AI ก็เป็นมนุษย์ไม่ได้ ปัญหาคือมนุษย์สูญเสียความเป็นมนุษย์ต่างหาก เราจึงกลัว AI จึงกลัวหุ่นยนต์และกลไก สิ่งที่ต้องรักษาไว้สูงสุดคือความเป็นมนุษย์ และเรื่องที่ผมคุยมาตลอดหนึ่งชั่วโมงที่ผ่านมาทั้งหมดคือความเป็นมนุษย์
ถ้าเรารักษาความเป็นมนุษย์ไว้ไม่ได้ นั่นคือเหตุผลที่เราต้องกลัวหุ่นยนต์ให้มากที่สุด แต่ถ้าเรารักษาความเป็นมนุษย์ แล้วเรารู้ว่าคุณค่าสูงสุดของมนุษย์อยู่ที่ไหน เราไม่จำเป็นที่จะต้องกลัวความเปลี่ยนแปลง AI จะ disrupt เราไม่ได้ ฉะนั้นจงหาให้เจอว่าคุณค่าที่แท้จริงที่สูงสุดของมนุษย์อยู่ตรงไหน”
แต่ถ้าเราถามว่านโยบายของบริษัทที่เราคุ้นเคยนั้นมองพนักงานเป็นคนแบบไหน คำตอบก็คือพนักงานมักจะถูกมองว่าเป็นคนพันธุ์ X ที่พร้อมจะอู้งานและเอาเปรียบบริษัทได้ทุกเมื่อ
บริษัทส่วนใหญ่เชื่อใน Theory X และคิดว่าพนักงานต้องถูกขับเคลื่อนด้วยรางวัลและการลงโทษ ถ้าผู้บริหารใช้คำว่า “ผลตอบแทน”, “ควบคุม”, “กำกับ” “บังคับใช้” อยู่บ่อยๆ ก็มีแนวโน้มว่าองค์กรนั้นบริหารคนตาม Theory X
ส่วนบริษัทอีกกลุ่มหนึ่ง (ซึ่งเป็นส่วนน้อย) เชื่อว่าพนักงานของตนเป็นคนพันธุ์ Y ที่มีศักดิ์ศรีของคนทำงาน