เมื่อลูกเริ่มนอนเป็นเวลา แม่ก็ควรเอาชีวิตตัวเองกลับมาเช่นกัน

หนึ่งในสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนคนหนึ่งได้มากที่สุดก็คือการมีลูก

ตอนเป็นโสดอาจจะมีเหงาบ้าง แต่ก็คล่องตัว สามารถทำอะไรได้อิสระเสรีพอสมควร

พอมีคู่ความเหงาก็คลี่คลาย อิสระอาจจะน้อยลง แต่ถ้าเป็นคู่ที่ไปไหนไปกันก็สนุกไปอีกแบบ

แต่พอมีลูก เราแทบจะต้องทิ้งทุกอย่างที่เคยทำเพื่อมาดูแลสิ่งมีชีวิตตัวน้อยๆ ที่ขาดเราไม่ได้

คนเป็นแม่นั้นลำบากกว่าคนเป็นพ่อหลายเท่า เพราะลำบากตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ต้องแพ้ท้อง ต้องระมัดระวังทุกย่างก้าว ต้องกังวลกับท้องลายและน้ำหนักที่ขึ้นเอาๆ ตอนช่วงท้ายก็อุ้ยอ้ายทำอะไรก็ลำบาก พอคลอดน้องออกมายังไม่ทันมีเวลาพักให้หายเจ็บแผลก็ต้องอดหลับอดนอนเอาลูกเข้าเต้า กล่อมลูกนอน พอลูกหลับปุ๊บยังต้องปั๊มนมเก็บไว้อีก

สามเดือนแรกน่าจะเป็นช่วงที่เหนื่อยที่สุด จากนั้นจึงค่อยๆ เหนื่อยน้อยลงแต่ก็ต้องเริ่มกลับมาทำงาน ส่วนลูกก็มีโจทย์มาให้เราแก้เรื่อยๆ เดี๋ยวป่วย เดี๋ยวดื้อ เดี๋ยวต้องเตรียมเข้าโรงเรียน

แต่สำหรับแม่ที่ทำงานประจำ หลายคนต้องสู้รบกับความรู้สึกผิดที่ไม่สามารถทุ่มเทเต็มร้อยกับงานได้ จะดูแลลูกก็รู้สึกว่าทำได้ไม่ดีพออีก สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นก็คือวันทั้งวันก็จะเทเวลาให้กับสองสิ่งนี้ ถ้าไม่ใช่เรื่องงานก็เรื่องลูก ถ้าไม่ใช่เรื่องลูกก็เรื่องงาน

เมื่อคุ้นเคยกับวิถีชีวิตแบบนี้ไปนานๆ เข้า แม่บางคนอาจลืมไปเลยว่าแต่ก่อนเราเคยมี passion หรือมีความสุขกับเรื่องอะไร หรือถึงไม่ลืมเราก็จะบอกตัวเองว่าเอาไว้ก่อน เอาเรื่องลูกก่อน เอาเรื่องงานก่อน

แต่ผมกลับรู้สึกว่า ถ้าลูกเริ่มนอนเป็นเวลาแล้ว (เช่นตอนอายุเกิน 1 ขวบ) เริ่มไม่ต้องมีเราอยู่ในทุกฝีก้าวในชีวิตเขาแล้ว คนเป็นแม่ควรกลับมาดูแลจิตใจและร่างกายตัวเองบ้าง

แผลผ่าตัดหายดีแล้ว ลูกเริ่มกินนมจากขวดได้แล้ว ตัวแม่กับลูกไม่จำเป็นต้องติดกันตลอดเวลาอีกแล้ว นี่คือจังหวะที่ดีที่เราจะจัดเวลาทำอะไรที่เติมเต็มเราได้บ้าง

เพราะถ้าไม่ทำอย่างนั้น ชีวิตเราจะมีแค่งานกับลูก ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ไปนานๆ เข้าก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า resentment หรือความเคืองขุ่นในจิตใจ ทั้งกับตัวงาน ตัวคู่สมรส หรือแม้กระทั่งตัวลูกเอง จากนั้นก็รู้สึกโกรธที่ตัวเองดันแอบไปรู้สึกแย่กับลูกอีกด้วย

เราจึงไม่ควรปล่อยให้สถานการณ์ไปถึงจุดนั้น เราไม่จำเป็นต้องสวมบทบาทมนุษย์แม่ตลอดเวลา หันกลับมาใส่ใจในสิ่งที่ spark joy ให้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรกหรือกิจกรรมหย่อนใจโดยไม่จำเป็นต้องมีลูกเป็นศูนย์กลางของทุกการกระทำ

เมื่อเราสามารถจัดเวลาให้ตัวเองได้บ้าง ได้เติมบางอย่างที่ขาดหายมานาน เราก็จะมีพละกำลังที่จะทำหน้าที่แม่ได้อย่างเต็มใจและยืนระยะได้ดีกว่าเดิมครับ

เมื่อลูกเริ่มนอนเป็นเวลาแม่ก็ควรเอาชีวิตตัวเองกลับมาเช่นกัน

หนึ่งในสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนคนหนึ่งได้มากที่สุดก็คือการมีลูก

ตอนเป็นโสดอาจจะมีเหงาบ้าง แต่ก็คล่องตัว สามารถทำอะไรได้อิสระเสรีพอสมควร

พอมีคู่ความเหงาก็คลี่คลาย อิสระอาจจะน้อยลง แต่ถ้าเป็นคู่ที่ไปไหนไปกันก็สนุกไปอีกแบบ

แต่พอมีลูก เราแทบจะต้องทิ้งทุกอย่างที่เคยทำเพื่อมาดูแลสิ่งมีชีวิตตัวน้อยๆ ที่ขาดเราไม่ได้

คนเป็นแม่นั้นลำบากกว่าคนเป็นพ่อหลายเท่า เพราะลำบากตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ต้องแพ้ท้อง ต้องระมัดระวังทุกย่างก้าว ต้องกังวลกับท้องลายและน้ำหนักที่ขึ้นเอาๆ ตอนช่วงท้ายก็อุ้ยอ้ายทำอะไรก็ลำบาก พอคลอดน้องออกมายังไม่ทันมีเวลาพักให้หายเจ็บแผลก็ต้องอดหลับอดนอนเอาลูกเข้าเต้า กล่อมลูกนอน พอลูกหลับปุ๊บยังต้องปั๊มนมเก็บไว้อีก

สามเดือนแรกน่าจะเป็นช่วงที่เหนื่อยที่สุด จากนั้นจึงค่อยๆ เหนื่อยน้อยลงแต่ก็ต้องเริ่มกลับมาทำงาน ส่วนลูกก็มีโจทย์มาให้เราแก้เรื่อยๆ เดี๋ยวป่วย เดี๋ยวดื้อ เดี๋ยวต้องเตรียมเข้าโรงเรียน

แต่สำหรับแม่ที่ทำงานประจำ หลายคนต้องสู้รบกับความรู้สึกผิดที่ไม่สามารถทุ่มเทเต็มร้อยกับงานได้ จะดูแลลูกก็รู้สึกว่าทำได้ไม่ดีพออีก สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นก็คือวันทั้งวันก็จะเทเวลาให้กับสองสิ่งนี้ ถ้าไม่ใช่เรื่องงานก็เรื่องลูก ถ้าไม่ใช่เรื่องลูกก็เรื่องงาน

เมื่อคุ้นเคยกับวิถีชีวิตแบบนี้ไปนานๆ เข้า แม่บางคนอาจลืมไปเลยว่าแต่ก่อนเราเคยมี passion หรือมีความสุขกับเรื่องอะไร หรือถึงไม่ลืมเราก็จะบอกตัวเองว่าเอาไว้ก่อน เอาเรื่องลูกก่อน เอาเรื่องงานก่อน

แต่ผมกลับรู้สึกว่า ถ้าลูกเริ่มนอนเป็นเวลาแล้ว (เช่นตอนอายุเกิน 1 ขวบ) เริ่มไม่ต้องมีเราอยู่ในทุกฝีก้าวในชีวิตเขาแล้ว คนเป็นแม่ควรกลับมาดูแลจิตใจและร่างกายตัวเองบ้าง

แผลผ่าตัดหายดีแล้ว ลูกเริ่มกินนมจากขวดได้แล้ว ตัวแม่กับลูกไม่จำเป็นต้องติดกันตลอดเวลาอีกแล้ว นี่คือจังหวะที่ดีที่เราจะจัดเวลาทำอะไรที่เติมเต็มเราได้บ้าง

เพราะถ้าไม่ทำอย่างนั้น ชีวิตเราจะมีแค่งานกับลูก ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ไปนานๆ เข้าก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า resentment หรือความเคืองขุ่นในจิตใจ ทั้งกับตัวงาน ตัวคู่สมรส หรือแม้กระทั่งตัวลูกเอง จากนั้นก็รู้สึกโกรธที่ตัวเองดันแอบไปรู้สึกแย่กับลูกอีกด้วย

เราจึงไม่ควรปล่อยให้สถานการณ์ไปถึงจุดนั้น เราไม่จำเป็นต้องสวมบทบาทมนุษย์แม่ตลอดเวลา หันกลับมาใส่ใจในสิ่งที่ spark joy ให้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรกหรือกิจกรรมหย่อนใจโดยไม่จำเป็นต้องมีลูกเป็นศูนย์กลางของทุกการกระทำ

เมื่อเราสามารถจัดเวลาให้ตัวเองได้บ้าง ได้เติมบางอย่างที่ขาดหายมานาน เราก็จะมีพละกำลังที่จะทำหน้าที่แม่ได้อย่างมั่นคงกว่าเดิมครับ