“What’s happening with our cellphones is that we put a thing in our pocket that’s with us all the time that always offers an easy thing to do, rather than the important thing. I wanted to give myself a chance at choosing something that’s more difficult.”
-Sune Lehmann to Johann Hari
Johann Hari เป็นผู้เขียนหนังสือ Stolen Focus – Why You Can’t Pay Attention ที่อธิบายว่าเหตุใดมนุษย์เราถึงสมาธิสั้นลงทุกที
หนึ่งในตัวเอกของหนังสือเล่มนี้ก็คือสมาร์ทโฟนที่ติดตัวเราไปทุกที่และทำอะไรได้หลายต่อหลายอย่าง
บริษัทเทคอย่าง Facebook, Instagram, Youtube, Tiktok ล้วนจ้าง “ตัวเทพ” ในวงการที่เข้าใจเรื่องจิตวิทยาและการสร้างอุปนิสัยของมนุษย์ พวกเขานำความรู้เหล่านี้มาทำให้แอปมีความ sticky และทำให้คนติดงอมแงม
ยิ่งเราใช้แอปเหล่านี้บ่อยแค่ไหน เราก็จะยิ่งคุ้นเคยที่จะเปิดมันบ่อยยิ่งขึ้น หลายครั้งเปิดขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว เปิดขึ้นมาทั้งๆ ที่เพิ่งจะปิดไปเมื่อกี้นี้เอง
การมีมือถืออยู่ใกล้ตัว จึงเป็นการเชื้อเชิญให้เราทำแต่สิ่งง่ายๆ แทนที่จะเผชิญกับสิ่งยากๆ (ในหนังสือ Four Thousand Weeks ก็อธิบายว่า เราไม่ค่อยอยากทำสิ่งยากๆ เพราะว่ามันบังคับให้เราต้องสบตากับ finitude หรือข้อจำกัดของตัวเราเอง)
วิธีที่จะช่วยได้คือปิด notifications ที่ไม่จำเป็นและวางมือถือไว้ไกลตัวในวันทำงาน
ส่วนวันหยุดสุดสัปดาห์ ถ้าอยู่บ้าน ลองใช้เวลาส่วนใหญ่โดยไม่มีมือถือดู หลายครั้งเราจะพบว่าแม้จะมีห้วงเวลาที่น่าเบื่อบ้าง แต่โดยรวมแล้วเราจะมีความสุขมากขึ้น เพราะเราจะมีโอกาสได้ทำสิ่งที่มีความหมายกับเรามากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับคนในบ้าน การได้นอนอ่านหนังสือดีๆ สักเล่ม หรือแม้กระทั่งการที่ไม่ต้องเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับชีวิตคนอื่นผ่านหน้าฟีดก็ช่วยให้เรามีความทุกข์น้อยลงแล้วเช่นกัน
วางมือถือให้ไกลเกินเอื้อมมือ แล้วเราจะได้ทำสิ่งที่ยากแต่มีความหมายกับเรามากยิ่งขึ้นครับ
ขอบคุณประกายความคิดจากหนังสือ Stolen Focus – Stolen Focus – Why You Can’t Pay Attention by Johann Hari