ซึ่งเรามักจะลืมความจริงข้อนี้
และเผลอนึกว่าความจริงของเราคือความจริงของทุกคน
แต่เราเป็นเพียงคนตาบอดคลำช้าง เหมือนที่พี่ประภาส ชลศรานนท์เคยได้ประพันธ์เอาไว้
ตาบอดห้าคน ไปจับคลำช้าง
จับโดนหาง ช้างเป็นเหมือนงู
จับถูกงวง ช้างกลวงเป็นรู
จับถูกหู ช้างเป็นแผ่นห่ออีกหนึ่งคน ไปจับที่ขา
ก็กลับบอกว่า ช้างต้นเป็นตอ
จับถูกงา ช้างแท่งงองอ
นี่แหละหนอ มันอยู่ที่ใคร
การถกเถียงกันในเรื่องศาสนาและเรื่องการเมืองจึงเปล่าเปลืองเวลา เพราะมัน emotional มากกว่า rational ทุกคนยึดถือความเห็นของตัวเองอย่างเหนียวแน่นจนไม่อยากฟังความเห็นหรือแม้กระทั่งข้อมูลที่ขัดแย้ง “ความจริง” ของตน
“My mind is made up. Don’t confuse me with the facts.”
-Roy S. Durstine
ถ้าตระหนักว่าความจริงของเราไม่ใช่ความจริงของเขา และความจริงของเขาไม่ใช่ความจริงของเรา เราจะใช้ความตระหนักนี้ให้เป็นประโยชน์อย่างไรได้บ้าง?
หนึ่ง คือฟังคนที่อยู่หน้างาน เพราะเขาเห็นความจริงสดๆ ร้อนๆ
สอง คือฟังคนที่อยู่ใกล้งาน เพราะเขาอาจมีมุมมองที่เป็นกลางกว่าคนหน้างาน
สาม คือฟังคนที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่าความเห็นของเขาในเรื่องนี้มักจะถูกต้อง (believability weight)
สี่ คือฟังคนมีประสบการณ์ เพราะเขาน่าจะเห็นความจริงได้ลึกและกว้างกว่าเรา
และสุดท้ายก็ต้องฟังตัวเองด้วย อย่าฟังแต่คนอื่นจนไม่ได้ยินเสียงเล็กๆ ของตัวเอง
เมื่อตาบอดทั้งห้าเลิกถกเถียงและนั่งลงคุยกัน ก็จะเห็นช้างได้ชัดขึ้นครับ